BOI โซล่าเซลล์ เป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เืพ่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI จัดตั้งนโยบายนี้ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับภาคธุรกิจทั้งหลาย โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจะได้รับสิทะิประโยชน์ทางภาษี และการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย แล้วขั้นตอนการขอรับสิทธิ์ BOI มีอะไรบ้าง ดังนี้
BOI คืออะไร?
BOI หรือ Board of Investment คือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ BOI หยิบยื่นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ยนักลงทุนที่อยู่ในเกณฑ์ เช่น ยกเว้นนภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ทั้งนี้ ยังอนุญาตได้นำเข้าแรงงานฝีมือจากต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
BOI โซล่าเซลล์ช่วยผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไง?
เนื่องจาก BOI โซล่าเซลล์ เป็นมาตรการที่ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกิจการของจนเอง โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สำคัญ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี และการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร โดยจะช่วยลดต้นทุนการลงทุนในช่วงเริ่ม และระยะยาวได้ และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจผ่านการลดต้นทุนด้านพลังงาน ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรในด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลงทุนในระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเภทธุรกิจที่สามารถขอรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์ได้
สำหรับประเภทธุรกิจที่สามารถยื่นขอรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์โรงงาน จำเป็นต้องประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายอุตสาหกรรมที่สำคัญ และเป็นประโยชน์กับสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ดังนี้
เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร เช่น การปลูกพืช หรือไม้เศรษฐกิจ ผลิตปุ๋ยทางชีวภาพ หรือการผลิตปุ๋ยทางเคมี รวมทั้งกิจการด้านการเกษตรกรรมอื่น ๆ ผลิตอาหาร และยาทางการแพทย์
แร่ เซรามิกและโลหะขั้นมูลฐาน เช่น เหมืองแร่ โลหะ วัสดุก่อสร้าง ผลิตแก้ว เซรามิก เป็นต้น
อุตสาหกรรมเบา เช่น กิจการผลิตสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง รองเท้า ของเล่นเด็ก อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เช่น อุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักร หรือเครื่องยนต์
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งชิ้นส่วนและอะไหล่ต่าง ๆ
เคมีภัณฑ์ พลาสติกและกระดาษ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตมาจากกระดาษ พลาสติก พอลิเมอร์ รวมถึงยาเม็ดแคปซูล
กิจการบริการและสาธารณูปโภค เช่น พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงจากขยะ ไอน้ำ ลมและแสงแดด การขนส่งมวลชน ไปจนถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
4 เหตุทำไมโรงงานอุตสาหกรรมควรขอรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์
เปิดเหตุผล 4 ข้อ ทำไมโรงงานอุตสหากรรมควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ทำให้กำลังการใช้ไฟสูงยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับค่าไฟที่สูงขึ้นตาม โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่อาศัยพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งประโยชน์ของโซล่าเซลล์มีเยอะแยะมากมาย ดังนี้
1. ประหยัดค่าไฟ
เนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิต จำนวนการผลิตที่สูงสุด แน่นอนว่าก็หนีไม่พ้นค่าไฟที่สูงปรี๊ดตาม จะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ไฟฟ้าเลยก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการติดตั้งโซล่าเซลล์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดไฟได้มากยิ่งขึ้น แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
2. คุ้มค่า อายุการใช้งานยาวนาน
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพียงแค่หนึ่งครั้ง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25 ปี หากได้รับการดูแลสม่ำเสมอก็จะสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 30 ปีเลยทีเดียว นำค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหักลบกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นับว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามาก
3. พลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีวันหมด
การทำงานของโซล่าเซลล์คือจากนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น แสงอาทิตย์จึงเป็นแหล่งพลังงานชั้นเยี่ยม โดยเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดไป เมื่อเปรียบเทียบกับไฟฟ้าพลังน้ำ ถ่านหิน หรือน้ำมันดิบที่ต้องใช้ระยะเวลาในการตกตะกอนขึ้นมา และอาจทำให้เกิดมลภาวะระหว่างการผลิตไฟฟ้าได้ พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลก
4. ได้รับการสนับบสนุนการรัฐบาล
รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานไฟฟ้า จึงมีแนวทางสนุบสนุนผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ที่เข้าข่าย สามารถขอยื่นรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์ได้ และยังสามารถนำมาฝช้ลดหย่อยภาษีเงินได้แบบนิติบุคคลได้ถึง 50% เลย
ขั้นตอนการขอรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์มีอะไรบ้าง
1. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ขั้นตอนแรกในการขอรับสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์ คือการยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยผู้ประกอบการจะต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็น ยื่นคำขอได้ทางออนไลน์ผ่านระบบ e-Investment Promotion ของ BOI หรือยื่นคำด้วยตนเอง ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงโครงการ
หลังจากยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ผู้ประกอบการต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบโครงการภายใน 10 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ เพื่อชี้แจงโครงการดังกล่าว
3. รอการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ
ระยะเวลาในการรอพิจารณาจากคณะกรรมการฯ BOI โซล่าเซลล์ จะเวลาประมาณ 15-60 วันทำการ โดยผู้ประกอบการสามารถติดตามสถานะคำขอผ่านระบบออนไลน์ของ www.boi.co.th หากผ่านการพิจารณา เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการจะติดต่อกลับภายใน 7 วันทำการ
4. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน
เมื่อได้รับผลการพิจารณา BOI โซล่าเซลล์แล้ว ผู้ประกอบการต้องตอบรับการส่งเสริมการลงทุนภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ซึ่งสามารถตอบรับการส่งเสริมได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยกรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ e-Investment Promotion หรือยื่นแบบตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน (แบบฟอร์ม F GA CT 07) ได้ด้วยตนเอง ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
5. ยื่นขอรับบัตรส่งเสริม
ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม BOI โซล่าเซลล์ ต้องยื่นขอรับบัตรส่งเสริม พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณาภายใน 6 เดือน โดยสามารถยื่นขอรับได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านช่องทางออนไลน์โดยกรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ e-Investment Promotion หรือยื่นแบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม (แบบฟอร์ม F GA CT 08) พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานประกอบในการออกบัตร
ระยะเวลาในการทำเรื่องขอสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์
สำหรับการทำเรื่องขอสิทธิ์ BOI โซล่าเซลล์จะใช้เวลาพิจารณา โดยจะมีระยะเวลาในการทำเรื่องประมาณ 60-120 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อมของผู้ประกอบการ และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบว่าครบถ้วนหรือไม่ เช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาแนะนำให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันการตกหล่น
สรุป
BOI โซล่าเซลล์ เป็นโครงการส่งเสริมการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถลดต้นทุนในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถยื่นขอรับสิทธิ์ได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การยื่นคำขอ การชี้แจงโครงการ การรอผลพิจารณา การตอบรับมติ จนถึงการรับบัตรส่งเสริม โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 60-120 วันเลยทีเดียว
Comments